การจัดทำข้อบังคับฯ
http://www.geocities.com/Tokyo/Shrine/8819/index.htm

รายการตรวจสอบสำหรับการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน



1. วันทำงาน เวลาทำงานปกติ


- แยกประเภทของพนักงาน เช่นพนักงานทั่วไปทำงานกลางวัน พนักงานกะ พนักงานในระบบ 4 กลุ่ม 3 กะ
พนักงานที่ต้องสลับกันหยุด พนักงานประจำสำนักงานใหญ่ พนักงานขาย พนักงานที่ทำงานลักษณะพิเศษ (ถ้ามี)
พนักงานประจำสาขา ฯลฯ
- ระบุวันทำงานปกติว่าจากวันใดถึงวันใด (ตามปกติจะเขียนวันหยุดประจำสัปดาห์ต่อท้าย)
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของวันทำงาน
- ระบุชั่วโมงทำงานปกติต่อสัปดาห์
- ถ้าไม่อาจระบุเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดให้เขียนรวมๆ โดยระบุว่าทำงานวันละและสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง
จากวันใดถึงวันใด และเวลาพักที่กฏหมายกำหนดและวันใดเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์
- ระบุวิธีการเวียนกะ (ถ้ามี)
-อำนาจในการเปลี่ยนแปลงกำหนดวันและเวลาทำงานกรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติ หรือเหตุฉุกเฉิน (ถ้ากำหนดอำนาจไว้แต่แรก)
-เวลาพัก 1 ชั่วโมง (ตามปกติเขียนรวมกับกำหนดเวลาทำงาน)
แนวคิดที่ 1 ระบุเวลาพักให้ชัด
แนวคิดที่ 2 เปิดกว้างไว้เพื่อความคล่องตัว


-ระบุเวลาพักสำหรับพนักงานกะ (ถ้าแตกต่างกัน) หรือเขียนเปิดไว้ว่าต้องต้องผลัดเปลี่ยนกันพักตามความจำเป็นของงาน


-เวลาพักกรณีทำล่วงเวลาต่อ 2 ชั่วโมง
ระบุโดยใช้แนวกฏหมาย
ระบุข้อยกเว้นตามวรรค 5 ของมาตรา 27 คือ มิให้ใช้บังคับถ้าสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับ
ความยินยอมจากลูกจ้าง หรือเป็นงานฉุกเฉิน


2. วันหยุดและหลักและหลักเกณฑ์วันหยุด


1. วันหยุดประจำสัปดาห์
-ระยะห่างของวันหยุด (ไม่เกิน 6 วัน)
-ถ้าหมุนเวียน ระบุให้ชัด ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น (ตามปกติจะเขียนรวมไว้กับวันทำงานปกติ)
-มีข้อความเกี่ยวกับการสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และการเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์สำหรับงานบางประเภท
ซึ่งต้องอยู่ภายในระยะ 4 สัปดาห์ติดต่อกัน (ถ้ามี)
หมายเหตุ : วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเป็นเสาร์-อาทิตย์เสมอไป


3. วันหยุดประเพณี
แนวคิดที่ 1 -ระบุว่าวันใดบ้าง
แนวคิดที่ 2 -เปิดกว้างไว้และกำหนดล่วงหน้าเป้นปีๆ ไป


-วันหยุดต้องเข้าข้อกำหนดตามมาตรา 29
-มีข้อความเรื่องหยุดชดเชยในวันถัดไปถ้าตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์
-ระบุข้อตกลงให้มีการหยุดชดเชยในวันอื่นหรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแทน (ถ้ามี)


4. หยุดพักผ่อนประจำปี
-ระบุสิทธิต้องทำงานมาแล้วครบ 1 ปี
-ระบุจำนวนวันถ้าให้ตามอายุงานให้ระบุให้ชัด
-แสดงวิธีคิดเพื่อความเข้าใจ
-ระบุวิธีการหยุด
-กำหนดล่วงหน้าโดยนายจ้าง
-ให้ลูกจ้างเป็นฝ่ายขอหยุด
-กำหนดทั้ง 2 อย่าง
-ระบุขั้นตอนขออนุมัติและผลของการไม่ขอหยุดล่วงหน้า (กรณีให้ลูกจ้างเป็นผู้ขอ)
-ระบุถ้ามีการตกลงให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนที่มิได้หยุดไปรวมกับปีต่อๆ ไปได้
-ระบุถ้ามีนโยบายให้ใช้สิทธิตามส่วนตามกฏหมายใหม่
-ระบุการจ่ายเงินแทนถ้าพนักงานมิได้ใช้สิทธิขอหยุด ทั้งนี้ จะต้องระบุจำนวนวันสูงสุด (ถ้าไม่จ่ายทั้งหมด)
-การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้าง
พึงจะได้รับรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม ม.30 (มาตรา 67)


3. หลักเกณฑ์การทำงารล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
-อาจมีนิยามศัพท์เช่น “หมายความว่าการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติและการทำงาน
ในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี”
-อาจระบุเป็นนโยบายว่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและในวันหยุด จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป
-สิทธิในการสั่งการให้ลูกจ้างทำล่วงเวลากรณีเป็นงานที่ต้องทำติดต่อกันถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน
หรือเป็นงานอื่นๆ ตามกฏกระทรวง
-ระบุนโยบายการทำงานในวันหยุดได้โดยเน้นว่าจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ
ไปและระบุข้อยกเว้นเช่นเดียวกับการทำงานล่วงเวลา
-อาจระบุเป็นชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาต่อสัปดาห์ตามกฏหมา (รอดูประกาศกฏกระทรวง)
-กำหนดอัตราการจ่ายค่าจ้าง (ดูข้อ 4 แต่อาจจะเขียนรวมกับหลักเกณฑ์)
-ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิ ว่าด้วยค่าล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ในขณะเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ สถานที่อื่นๆ
และข้อยกเว้น (ถ้ามี) เช่น พนักงานขับรถมีสิทธิได้ ฯลฯ
-อาจระบุเงื่อนไขของการไม่จ่ายค่าล่วงเวลา


4. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
1. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง
-จ่ายที่ใดและที่ไหน
-ถ้าใช้บัตรเอทีเอ็มต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
-ควรถือว่าสถานประกอบการของบริษัทเป็นสถานที่จ่ายค่าจ้างและเงินอื่นๆ ถ้าจ่ายผ่านธนาคารให้ระบุ
2. การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
-ค่าล่วงเวลากรณีทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานปกติ
-ค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งไม่เกินเวลาทำงานปกติ
-ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีซึ่งไม่เกินเวลาทำงานปกติ
-ค่าล่วงเวลากรณีทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานปกติ


Go to top
Menu | Previous | Next

การจัดทำข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
by Suttipong Duanglertvisetkul
e-mail me : pong_10@hotmail.com
ICQ : UIN 13381694