การจัดทำข้อบังคับฯ
http://www.geocities.com/Tokyo/Shrine/8819/index.htm

แนวทางการปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ พ.ศ. 2541


เริ่มต้นที่ ม.108 (ปมท. ข้อ 68)
-ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจัดทำข้อบังคับเป็นภาษาไทยอย่างน้อยต้องมี
1. วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
2. วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
3. หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
4. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าจ้างล่วงเวลาในวันหยุด
5. วันลา และหลักเกณฑ์การลา
6. วินัยและโทษทางวินัย
7. การ้องทุกข์
8. การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ


2. ม.108 (1) วันทำงานเวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
วันทำงาน/เวลาทำงานปกติ ม.23 (ปมท. ข้อ 3)
เวลาทำงานปกติ
1. ให้นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างทราบ
2. กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด แต่ละวัน
3. ไม่เกินกำหนด แต่ละประเภทงานในกฏกระทรวง แต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
เว้นแต่ งานที่อาจเป็นอันตรายและความปลอดภัย (กฏกระทรางกำหนด) ไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์
เวลาพัก ม.27 (ปมท. ข้อ 6)
กฏหมายวางหลักเกณฑ์ไว้เหมือนเดิม แต่มีข้อสังเกตุคือ
1. ตัดถ้อยคำ “แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาที” ออกไป
2. หากมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นๆ ข้อตกลงนั้นเป็นประโดยชน์แก่ลูกจ้าง (ให้ใช้บังคับได้)
3. หากเวลาพักวันหนึ่งเกิน 2 ชั่วโมง เฉพาะที่เกินนับเป็นเวลาทำงานปกติ
4. การทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ต้องจัดให้ลูกจ้างพักไม่น้อยกว่า 20 นาที
ก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา


3. ม. 108(2) วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด
วันหยุดประจำสัปดาห์ ม.28 (ปมท. ข้อ 7)
หลักเกณฑ์เหมือนเดิม
วันหยุดตามประเพณี ม.29 (ปมท. ข้อ 9)
1. หลักเกณฑ์เหมือนเดิม แต่ให้นายจ้างพิจารณากำหนดจาก
1) วันหยุดราชการประจำปี
2) วันหยุดทางศาสนา
3) วันหยุดตามขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
2. กรณีไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้
2.1 เนื่องมาจากลักษณะหรือสภาพของงาน ตามกฏกระทรวง
2.2 ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้าง
2.2.1 หยุดในวันอื่นชดเชย หรือ
2.2.2 นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้
วันหยุดพักผ่อนประจำปี ม.30 (ปมท. ข้อ 10)
1. หลักเกณฑ์เหมือนเดิม แต่เพิ่ม
1.1 การกำหนดวันหยุด นอกจากให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดแล้ว อาจกำหนดตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
1.2 กรณีทำงานไม่ครบปี คำนวณตามส่วนได้


4. ม. 108(3) หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา ม.26 (ปมท. ข้อ 11 วรรค 3)


กฏหมายใหม่นี้เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
(เดิม สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง)


ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ม.63 (ปมท. ข้อ 42)
หลักเกณฑ์คิดคำนวณการจ่ายเหมือนเดิม แต่เมื่อมีความหมายรวมอยู่ในนิยาม “การทำงานล่วงเวลา” (ม.5)
ฉะนั้น นายจ้างจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์การทำงานในวันหยุด วันสถานที่จ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
เพิ่มเติมลงไปในข้อบังคับให้ชัดเจน


พนักงานไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาวันหยุด ม.65 (ปมท. ข้อ 36)


กรณีนายจ้างได้กำหนดไว้ในข้อบังคับตามกฏหมายเก่า จะต้องแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่มีข้อสังเกตุคือ
1. ม.65(1) ลูกจ้าที่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง สำหรับการจ้าง การให้บำเหน็จ การลดค่าจ้าง
หรือ เลิกจ้าง (ตัด การลงโทษ การวินิจฉัย ข้อร้องทุกข์ออก)
2. ตัด “งานขนส่ง” ออก
3. เพิ่มเติม “งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ”
4. ม.65(7) งานเฝ้าดูแลและสถานที่ ต้องออกไปทำนอกสถานที่ และโดยลักษณะงานหรือสภาพของงาน
ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้


5. ม.108(4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
วันและสถานที่จ่ายค่าจ้างฯ ม.55 (ปมท. ข้อ 28)
หลักเกณฑ์คงเดิม แต่ถ้าจ่าย ณ สถานที่อื่นด้วยวิธีอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(คงความยินยอม หลักเกณฑ์กฏหมายจะอยู่ที่ ม.77) โดย
-ทำเป็นหนังสือ และให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อ
-มีข้อตกลงกันไว้ ชัดเจนเป็นการเฉพาะ


ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
เมื่อแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องเพิ่มเติม“ค่าล่วงเวลาในวันหยุดในข้อบังคับฯ”


6. ม.108(5) วันลา และหลักเกณฑ์การลา
ลาเพื่อทำหมัน ม.33, 57
หลักเกณฑ์
1. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันและลาเนื่องจากการทำหมัน
2. ตามระยะเวลาที่
2.1 แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และ
2.2 ออกใบรับรอง
3. ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันที่ลาตามข้อ 2 (ม.57)


ลาเพื่อกิจธุระ ม.34
หลักเกณฑ์
1. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระจำเป็นได้
2. ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน


ลาเพื่อรับราชการทหาร ม.35, 58 (ปมท. ข้อ 33 ทวิ)
หลักเกณฑ์คงเดิม


ลาเพื่อฝึกอบรม ม.36
1. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถ
2. หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในกฏกระทรวง


ลาเพื่อคลอดบุตร ม.41, 59 (ปมท. ข้อ 18)
หลักเกณฑ์คงเดิม แต่ตัด “ก่อนคลอดและหลังคลอด” ออก


ลาป่วย ม.32 57 (ปมท. ข้อ 12)
-เพิ่มเติมตามกฏหมายใหม่ กรณีแสดงหลักฐานใบรับรองแพทย์เมื่อลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป
ให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาลของทางราชการ
กรณีไม่อาจแสดงให้ชี้แจงให้นายจ้างทราบ
-มิให้ถือเป็นวันลาป่วย
1) วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และ
2) วันลาเพื่อคลอดบุตร


7. ม.108(6) วินัยและโทษทางวินัย
การพักงาน ม.116, 117
หลักเกณฑ์
1. นายจ้างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
2. ห้ามิให้นายจ้างสั่งพักงานในระหว่างการสอบสวน เว้นแต่
2.1 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือ
2.2 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
2.3 ให้อำนาจนายจ้างสั่งพักงานได้
3. ต้องมีคตำสั่งพักงานเป็นหนังสือ
3.1 ระบุความผิด และ
3.2 ระยะเวลาพักงานไม่เกิน 7 วัน
3.3 แจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงาน
4. ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานตามอัตราที่กำหนดไว้ใน 2.1
หรือ 2.2 แต่ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนถูกสั่งพักงาน
เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น ลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานนับแต่ถูกสั่งพักงาน
โดยเงินที่จ่ายตาม ม.116 เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ห้าสิบต่อปี (ม.117)


8. ม.108 (7) การร้องทุกข์
การร้องทุกข์ ม.109
ข้อสังเกตุ กฏหมายเก่าใช้ถ้อยคำ “การยื่นคำร้องทุกข์”
กฏมายใหม่ใช้ถ้อนคำ “การ้องทุกข์” ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้นกว่าเดิมและรวบรวมความหมายเดิม “การยื่นคำร้องทุกข์” ไว้ด้วย
ทั้งนี้ กฏหมายได้กำหนดเป็นกรอบให้มีความชัดเจนว่า “การ้องทุกข์” นั้น ต้องการให้นายจ้างระบุรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ
มีอะไรบ้างตาม ม109
1. ขอบเขตและความหมายของข้อร้องทุกข์
2. วิธีการและขั้นตอนการร้องทุกข์
3. การสอบสวนและพิจารณาข้อร้องทุกข์
4. กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์
5. ความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ฉะนั้น นายจ้างควรมีการศึกษา ทบทวน แก้ไขเพิ่มเติม ห้วข้อนี้ว่า ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเดิมนั้น
ได้มีรายละเอียดครอบคลุมทั้ง 5 หัวข้อนี้หรือไม่


9. ม.108(8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
การเลิกจ้าง ม.119 (ปมท. ข้อ 47)
จุดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม
1. หนังสือเตือน
ตามกฏหมายเก่า ให้มีผลบังคับไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือน
ตามกฏหมายใหม่ ให้มีผลใช้บังคับไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด


2. ได้รับโทษจำคุก ตามกฏหมาย
ตามกฏหมายเก่า ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ตามกฏหมายใหม่ เพิ่มเติม ข้อยกเว้น “เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ”


ค่าชดเชย ม.118 (ปมท. ข้อ 46)
ข้อสังเกตุ
ตามกฏหมายใหม่ ตัด “โดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่นายจ้างซึ่งให้หยุดเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง” ออก
แต่ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพียงแต่นำไปบัญญัติไว้ในมาตรา 19


ม.18(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดดต่อกันครบสามปี แต่ไม่เกินหกปี ให้ นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย
หนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าน
สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


ม.18(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปีให้ นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย
สองร้อยยี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยยี่สิบวันสุดท้าย
สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ม.18(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้านสามร้อยวัน
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


ค่าชดเชยพิเศษ ม.120, 121, 122
ค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการ ม.120 วรรค 1,2
ค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการ ม.120 วรรค 3
ค่าชดเชยพิเศษ กรณีเลิกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน ม.122
ค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีเลิกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงานฯ ม.121
การแก้ไขเพิ่มเติมค่าชดเชยพิเศษ โดยทางปฏิบัติเมื่อกฏหมายระบุไว้อย่างไร
การแก้ไขข้อบังคับในการทำงานให้ยึดถือถ้อยคำไปตามนั้น เพิ่มความถูกต้อง


10. บทนิยาม ม.5
โดยปกติ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมักจะมีคำนิยาม เพื่ออธิบายความหมายในแต่ละคำที่ระบุไว้ในข้อบังคับด้วย
ฉะนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมการครอบคลุมถึงคำนิยามเหล่านี้ และใช้ความหมายที่บัญญัติขึ้นหรือแก้ไขตามกฏหมายฉบับใหม่
ได้แก่ “วันลา”, “การทำงานล่วงเวลา”, “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด”, “ค่าชดเชย”


ข้อสังเกตุ
ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่น........................


ค่าชดเชยพิเศษ หมายความว่า เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง เพราะมีเหตุกรณีพิเศษ.......................


11. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
จัดทำประกาศใช้ข้อบังคับ ม.108 (ปมท. ข้อ 68)
(ใหม่) ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มัลูกจ้างรวมกัน ตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
(เก่า) ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเป็นประจำ จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศใช้บังคับ


ส่งสำเนา ม.108 (ปมท. ข้อ 68)
(ใหม่) ภายในเจ็ดวันนับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับ
(เก่า) ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป


แก้ไขเพิ่มเติม ม.110 (ปมท. ข้อ 69)
(ใหม่) 1. ให้นายจ้างประกาศข้อบังคับที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมภานในเจ็ดวันนับแต่วันประกาศใช้
2. ส่งสำเนา ข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับ
(เก่า) แจ้งแก้ไขเพิ่มเติม (ส่งสำเนา) ภายในเจ็ดวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับ



Go to top
Menu | Previous | Next

การจัดทำข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
by Suttipong Duanglertvisetkul
e-mail me : pong_10@hotmail.com
ICQ : UIN 13381694

click