การจัดทำข้อบังคับฯ
http://www.geocities.com/Tokyo/Shrine/8819/index.htm

เทคนิคการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน



1. ข้อสังเกตุเกี่ยวกับข้อบังคับฯ


1. เป็นสิ่งที่กฏหมายกำหนดว่าต้องจัดทำ
2. เป็นสภาพการจ้างตามกฏหมาย
3. เป็นคำมั่นสัญญาหรือการแสดงเจตนารมย์ว่าจะปฏิบัติตามที่เขียนไว้
4. เขียนแล้วแก้ยาก
5. การเขียนข้อบังคับขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างเดิมมักจะมีข้อโต้แย้งและปัญหาข้อกฏหมาย
6. ต้องประกาศให้ลูกจ้างทราบในที่เปิดเผยและปิดประกาศโดยที่ลูกจ้างมิได้คัดค้านก็มิได้หมายความว่าจะใช้บังคับได้
7. แก้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ที่ผิดให้ถูกไม่ใช่เรื่องง่าย
8. ต้องถูกต้องตามกฏหมาย
9. ข้อเปลี่ยนแปลงทุกประเด็นใน พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นข้อบังคับฯ เช่น ข้อห้ามเกี่ยวกับการทำงาน
ของหญิงมีครรภ์ เป็นต้น
10. การเขียนข้อบังคับฯ แตกต่างกับการเขียนกฏหมายและคู่มือบริหารงานบุคคลอยู่บ้าง
แต่บางกรณีก็อาจจะใช้แนวการเขียนคู่มือบริหารงานบุคคลได้



2. ข้อควรคำนึงในการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ยึดหลัก 4’Cs ดังนี้


**** CLEAR (ชัดแจ้ง)
**** CONCISE (กะทัดรัด)
**** COMPLETE (สมบูรณ์)
**** CORRECT (ถูกต้อง)



3. วิธีการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน


1. เขียนแบบสั้นๆ

ตีความได้กว้างและมักมีปัญหาในทางปฏิบัติและข้อถกเถียงมาก แต่ข้อดีก็คือมีช่องทางที่จะต่อสู้คดีได้มากกว่า
การเขียนแบบละเอียด

2. เขียนแบบละเอียดหรือเขียนยาวๆ

ตีความได้แคบกว่าและปฏิบัติได้ง่ายกว่า ไม่ค่อยมีปัญหาข้อโต้แย้งว่าอะไรทำได้และอะไรทำไม่ได้
แต่ข้อเสียก็คือไม่มีช่องโหว่ให้อ้างมากเมื่อมีคดีความ
หมายเหตุ : เขียนอย่างละเอียดน่าจะดีกว่าถ้าหากมองในแง่หลักและวิธีการบริหารบุคคลที่ดีและไม่มุ่งคิดที่จะเอาเปรียบในการต่อสู้คดี



3. ตัวอย่าง

3.1 เขียนสั้นๆ
“พนักงานมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง
กำหนดและออกใบรับรอง”
3.2 เขียนแบบละเอียด
“พนักงานมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง
กำหนดและออกใบรับรองแพทย์ โดยได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่ลาเพื่อทำหมันและเนื่องจากการทำหมันทั้งนี้ไม่รวมการแก้หมัน
ในการขอลา พนักงานจะต้องขออนุมัติล่วงหน้าโดยใช้แบบฟอร์มที่บริษัทกำหนดและยื่นต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า
ไม่ต่ำกว่า 3 วัน ทำงานและให้พนักงานยื่นใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในวันแรกที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่
อนึ่ง การลาเพื่อทำหมันจะมีผลกระทบต่อสิทธิในการได้เบี้ยขยันหรือรางวัลเกี่ยวกการไม่ป่วย สาย ลา หรือขาด
เช่นเดียวกับการลาประเภทอื่นๆ



4. ขั้นตอนการเขียน

1. วางโครงสร้างตามที่กฏหมายกำหนด
2. วิเคราะตัวบทที่แก้ไขเพิ่มเติมว่ามีความหมายอย่างไรและอะไรบ้างต้องใส่ไว้ในข้อบังคับฯ
3. กำหนดนโยบายหรือจุดยืนว่าจำกำหนดตามกฏหมายหรือสูงกว่าที่กฏหมายกำหนด เช่น กรณีลาทำหมัน เป็นต้น
4. พรรณนาขั้นตอนและวิธีการให้ละเอียดพอสมควรคล้ายๆ กับการเขียนคู่มือ ยกเว้นเป็นเรื่องที่ไม่มีขั้นตอน
ในการปฏิบัติ เช่น วันและเวลาทำงาน เป็นต้น


5. ขั้นตอนในการจัดทำคู่มือบริหารงานบุคคล

5.1 ศึกษาปัญหาและดูตัวอย่างคู่มือที่ดี
5.2 วางโครงสร้างและยกร่าง
5.3 เสนอร่างเพื่อพิจารณา
5.4 อนุมัติและประกาศใช้
5.5 ชี้แจงและฝึกอบรมการใช้คู่มือ



6. เนื้อหาของแต่ละบทในคู่มือการบริหารบุคคล

6.1 จุดประสงค์ของบท เช่นเพื่อวงกรอบว่าด้วยวินัยและบทลงโทษ
6.2 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย เช่น เพื่อแก้ไขและหรือให้โอกาสพนักงานปรับปรุงความประพฤติ
6.3 นโยบาย แนวทาง หรือหลักการ เช่น ตามปกติ การลงโทษทางวินัยกระทำเป็นขั้นๆ ไป นอกเสียจากความผิดรุนแรง
6.4 ความรับผิดชอบ ระบุความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
6.5 ระเบียบปฏิบัติและหรือขั้นตอนในการปฏิบัติ เช่น รวบรวมข้อเท็จจริง วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าผิดหรือไม่
การเลือกบทลงโทษ และขั้นตอนในการดำเนินการ
6.6 ตัวอย่างและแบบฟอร์ม



หมายเหตุ : การร้องทุกข์ตามมาตรา 109 และวินัยและโทษทางวินัยตามมาตรา 108 เหมาะที่จะใช้แนวการเขียนคู่มือบริหารบุคคลปรับใช้


Go to top
Menu | Previous | Next

การจัดทำข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
by Suttipong Duanglertvisetkul
e-mail me : pong_10@hotmail.com
ICQ : UIN 13381694