การจัดทำข้อบังคับฯ
http://www.geocities.com/Tokyo/Shrine/8819/index.htm

การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


1. ความสำคัญ

-เป็นเสมือนกฏหมายของบริษัทหรือสถานประกอบการ ที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม
-ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ชอบด้วยกฏหมาย นายจ้างมีสิทธิลงโทษได้ตามกรอบที่กำหนดไว้
-ถ้านายจ้างละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่กำหนดขึ้น หรือมีการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันต่อลูกจ้าง
อาจทำให้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาข้อพิพาทแรงงานได้
และลูกจ้างมีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างหรือข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย
2. เนื้อหาสาระที่จะต้องกำหนดให้มีในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
2.1 ตามมาตรา 108 และมาตรา 109 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คือ
(1) วันทำงานและเวลาทำงานปกติและเวลาพัก
(2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
(3) หลักเกณฑ์การทำล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
(4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
(5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา
(6) วินัยและโทษทางวินัย
(7) การร้องทุกข์ ประกอบด้วย
-ขอบเขตความหมายการ้องทุกข์
-วิธีการและขั้นตอนการร้องทุกข์
-การสอบสวนและพิจารณาข้อร้องทุกข์
-กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์
-ความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้ที่เกี่ยวข้อง
(8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและค่าชดเชยพิเศษ
2.2 ตามมาตราอื่นๆ ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(1) การเรียกหรือรับเงินประกันและการทำสัญญาประกันการทำงาน หรือประกันความเสียหายในการทำงาน
ของลูกจ้างตลอดจนการคืนเงินประกัน
(2) การเปลียนแปลงตัวนายจ้าง (ม.13)
(3) การหยุดกิจการชั่วคราว (ม.75)
(4) การย้ายสถานประกอบการไปตั้งที่อื่น (ม.120)
(5) กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ม.130-131)
(6) การตรวจสุขภาพของลูกจ้าง (ม.107)
2.3 เรื่องอื่นๆ เช่น
(1) การทดลองงานและหลักเกณฑ์การทดลองงาน
(2) สวัสดิการและหลักเกณฑ์การจ่ายสวัสดิการ
(3) ค่าจ้างและหลักเกณฑ์การพิจารณาปรับค่าจ้าง
(4) การเกษียณอายุ
3. การประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
(1) ต้องประกาศใช้ภายใน 15 วัน นับแต่วันมีลูกจ้างครบ 10 คน
(2) ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ณ สถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้าง
(3) ต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับฯ โดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง
(4) แม้มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ก็ยังคงใช้ข้อบังคับฯ ต่อไป
(5) ส่งสำเนาข้อบังคับฯ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายใน 7 วัน นับแต่วันประกาศใช้


4. กระบวนการจัดส่งข้อบังคับให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ซึ่งได้แก่ พนักงานตรวจแรงงาน
ในเขตพื้นที่หรือจังหวัดต่างๆ

-ดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
โดยอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ณ สถานที่อธิบดีประกาศกำหนด
(1) นำส่งด้วยตนเอง (เหมาะที่สุด)
(2) นำส่งทางไปรษณีย์
(3) นำส่งโดยทางโทรสาร


Go to top
Menu | Previous | Next

การจัดทำข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
by Suttipong Duanglertvisetkul
e-mail me : pong_10@hotmail.com
ICQ : UIN 13381694