การจัดทำข้อบังคับฯ
https://members.tripod.com/~PongWeb

หมวดที่ 6
วินัยและการลงโทษ


เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานร่วมกันของพนักงาน บริษัทจึงกำหนดระเบียบวินัยขึ้น
เพื่อให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตาม หากพนักงานผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืน ให้ถือว่าพนักงานผู้นั้นกระทำผิดวินัย
และจะต้องได้รับพิจารณาลงโทษตามลักษณะความผิดตามควรแก่กรณี


6.1 ข้อพึงปฏิบัติเรื่องมาตรฐานในการทำงาน
1. เมื่อปฏิบัตงานแล้วต้องสวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายตามที่บริษัทกำหนด
2. ปฏิบัติงานตรงตามกำหนดเวลาทำงาน
3. ปฏิบัติงานให้บริษัทด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร จริงใจ รวมทั้งการทำงานที่ได้รับมอบ
หมายอย่างเต็มความสามารถ
4. ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายของผู้บังคับบัญชา รวมทั้งการให้ความนับ
ถือต่อผู้บังคับบัญชา หรือพนักงานอื่นๆ ที่มีอาวุโสกว่า
5 รักษา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทอย่างเคร่งครัด
6. ดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนให้เรียบร้อย และช่วยกันรักษา
ความสะอาด และความสงบในบริเวณสถานที่ทำงาน
7. สร้างความสัมพันธ์อันดี และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน
8. ละเว้นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท ท้าทาย ทะเลาะวิวาท หรือทำให้แตกความสามัคคีในระหว่าง
เพื่อนร่วมงาน
9. ไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ อันเป็นความลับของบริษัท
10. ห้ามนำเอกสาร และข้อมูลของบริษัท ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานกับบริษัท ไปใช้เพื่อ
ประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท


6.2 การกระทำดังต่อไปนี้ถือเป็นการกระทำผิดวินัย



6.2.1 การกระทำอันเป็นความผิดทางอาญา
1. กระทำผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิต ทั้งใน และนอกเวลาทำงาน
2. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
3 กระทำผิดอาญาเกี่ยวกับร่างกาย หรือเสรีภาพ ในบริเวณบริษัท เว้นแต่กรณีที่ป้องกัน
ตนเอง หรือทรัพย์สิน
4. กระทำผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัท หรือของผู้อื่นในบริเวณบริษัท
5. นำ หรือพกพาอาวุธใดๆ เข้ามาในบริเวณบริษัท เว้นแต่มีหน้าที่ต้องพกอาวุธ
6. แสดงกริยา ใช้วาจา หรือเขียนข้อความหยาบคาย ก้าวร้าว หมิ่นประมาท ดูหมิ่นเหยียด
หยามผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน หรือบุคคลใดๆ ในบริเวณบริษัท
7. กระทำผิดอาญาใดๆ ในบริเวณบริษัท หรือสถานที่ หรือทรัพย์สิน ซึ่งอยู่ในความครอบ
ครองของบริษัท


6.2.2 การกล่าว หรือใช้หลักฐานอันเป็นเท็จ
1. ไม่มีความสามารถในการทำงานตามที่ได้กล่าวอ้างไว้เมื่อสมัครงานกับบริษัท
2. แก้ไข ปลอมแปลงเอกสาร หรือหลักฐานเพื่อให้ได้มาเพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น
3. แจ้ง หรือรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา รวมถึงการแจ้งเท็จในการลาต่างๆ ด้วย


6.2.3 การประพฤติปฏิบัติอันไม่สมควร
1. กระทำการ หรือมีพฤติการณ์ที่ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือภาพพจน์ของบริษัท
2. เรียก รับ ยอมรับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่น เพื่อตน
เอง หรือผู้อื่นอันทำให้เสียความเที่ยงธรรมในหน้าที่
3. ละเลย ปฏิเสธ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือหน้าที่ หรือหน้าที่การงานที่บริษัทมอบ
หมาย เว้นแต่หน้าที่นั้นอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง
4. ปฏิเสธที่จะตอบคำถามของบริษัท หรือผู้ที่บริษัทมอบหมายในระหว่างการสอบสวนหา
ข้อเท็จจริง
5. ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ขัดขืน ละเลย หรือเพิกเฉยต่อกฏข้อบังคับ ระเบียบ สัญญาจ้างแรง
งาน ประกาศ หรือคำสั่งของบริษัท รวมทั้งคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมาย หรือชอบด้วย
หน้าที่ของผู้บังคับบัญชา
6. เล่นการพนัน หรือร่วมอยู่ในบริเวณนั้น หรือนำอุปกรณ์เครื่องเล่นการพนันเข้ามาใน
บริเวณบริษัท
7. ทะเลาะวิวาท หรือทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน หรือต่อบุคคลใดๆ ในบริเวณบริษัท
8. นำเข้ามา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือสุรา หรือของมึนเมา หรือมีอาการมึนเมาใน
บริเวณที่ทำงาน หรือเวลาทำงาน เว้นแต่มีงานซึ่งบริษัทอนุญาต หรือเป็นการกระทำอัน
เกี่ยวเนื่องกับงานของบริษัท
9. นอน หรือหลับในระหว่างเวลาทำงาน
10. มาทำงานสาย กลับก่อนเวลาเลิกงาน หรือออกกะเมื่อถึงเวลาเลิกงาน โดยผู้ที่รับงานกะ
ต่อไปยังไม่มารับงาน โดยหัวหน้ากะ หรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้อนุญาต
11. ละทิ้งหน้าที่ ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการทำงาน หรือขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
12. เล่นแชร์ ออกเงินให้กู้ หรือเล่นหวย หรือแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบจากพนักงานใน
บริเวณบริษัท
13. เจตนาปฏิบัติงานให้ล่าช้า
14. สูบบุหรี่ในบริเวณห้ามสูบ
15. ใช้เครื่องกระจายเสียงภายในบริเวณบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต
16. แพร่ข่าวอกุศล ใส่ร้ายผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความแตกสามัคคีในระหว่างพนักงานด้วยกัน
17. ทำลาย ต่อเติม หรือแก้ไขข้อความในประกาศ หรือแผ่นป้าย หรือสิ่งตีพิมพ์ของบริษัท
หรือของผู้อื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกาศที่ติดประกาศของบริษัท
18. มีหนี้สินล้นพ้นตัว
19. ประพฤติตนชั่วช้าจนเป็นที่รังเกียจของสังคม ประพฤติตนเป็นอันธพาล หรือเสเพล
หรือกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
20. เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม กับการประกอบการอื่นใด ที่มีลักษณะเป็น
การแข่งขันโดยตรง หรือโดยอ้อม หรือเป็นการขัดผลประโยชน์ของบริษัท หรืออาศัย
ตำแหน่งหน้าที่ในบริษัทแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น
21. เรี่ยไรเงินในบริเวณบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต
22. การกระทำใดๆ ซึ่งมีผลเสียหายต่อกิจการ หรือชื่อเสียงของบริษัท


6.2.4 การทำลายหรือใช้ทรัพย์สินของบริษัทโดยไม่สมควร
1. จงใจ หรือประมาทเลินเล่อ บกพร่องต่อหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของ
บริษัท หรือบุคคลอื่น
2. เปิดเผย ความลับ เทคนิค ความรู้ หรือข่าวสารทางธุรกิจ อันเป็นความลับของบริษัท
หรือสิ่งที่บริษัทปกปิด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัท
3. จัดประชุม ปิดประกาศ หรือแจกจ่ายเอกสารสิ่งพิมพ์ในบริเวณบริษัท โดยไม่ได้รับ
อนุญาต
4. การใช้ทรัพย์สิน เช่น เครื่องมือ โทรศัพท์ โทรสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ของบริษัท เพื่อ
ประโยชน์ต่อตนเอง หรือผู้อื่น


6.2.5 การกระทำทุจริต
1. กระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือต่อบริษัท หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อบริษัท
2. ประทับตราบันทึกเวลาแทนผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นประทับบัตรแทน รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติม
หรือทำลายบัตรบันทึกเวลาของผู้อื่น หรือของตนเอง
ข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น เป็นเกณฑ์สำหรับพนักงานโดยทั่วไป แต่บางตำแหน่งงานบริษัทอาจกำหนดวินัย
เฉพาะตำแหน่งเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ก็ได้


6.3 การลงโทษ


6.3.1 ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้พิจารณาความผิด และลงโทษพนักงานที่กระทำความผิด


6.3.2 พนักงานที่กระทำผิดวินัย จะได้รับการพิจารณาลงโทษหนักเบาตามลักษณะความผิด ตามควร
แก่กรณี เป็นรายๆ ไป ซึ่งอาจเป็นโทษสถานใดสถานหนึ่ง หรือหลายสถาน ดังต่อไปนี้


1. ตักเตือนด้วยวาจา
2. ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร และ/หรือ การลดค่าจ้าง หรือตัดค่าจ้าง
3. ปลดออก
4. ไล่ออก


6.3.3 การพิจารณาลงโทษพนักงานที่กระทำผิดวินัย บริษัทจะนำลักษณะความผิด ผลของความ
เสียหาย สภาพแวดล้อม และความประพฤติของบุคคลผู้กระทำผิดนั้นๆ มาพิจารณาประกอบการ
ลงโทษด้วย


6.3.4 การลงโทษโดยการไล่ออกนั้น บริษัทจะกระทำต่อเมื่อพนักงานได้กระทำความผิดวินัยอย่างร้าย
แรงอย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้


1. ทุจริตต่อหน้าที่ หรือต่อบริษัท หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อบริษัท
2. จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฏ
หมายของบริษัท และบริษัทได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงไม่จำเป็น
ต้องเคยถูกตักเตือนมาก่อน
4. ละทิ้งหน้าทื่ หรือขาดงาน เป็นเวลา 3 วันทำงานไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
5. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก


6.3.5 การให้พนักงานพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของบริษัท เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้
บังคับบัญชาตามสายงาน แต่เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ให้ผู้บังคับบัญชา
ปรึกษา และขออนุมัติการเลิกจ้างจากผู้จัดการฝ่ายบุคคล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก
กรรมการผู้จัดการใหญ่ก่อนทุกกรณี


6.3.6 ผู้ถูกลงโทษซึ่งเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม อาจอุทธรณ์การลงโทษนั้นต่อผู้บังคับบัญชา
เหนือผู้สั่งลงโทษได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในหมวดที่ 10 ข้อ 10.2



Go to top
Menu | Previous | Home

การจัดทำข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
by Suttipong Duanglertvisetkul
e-mail me : pong_10@hotmail.com
ICQ : UIN 13381694

click